- เริ่มจากฟังก์ชันพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการผลิตที่หน้างาน
MES (Manufacturing Execute System) คือ "ระบบดำเนินการผลิต" ที่ทำหน้าที่จัดการควบคุม รับรู้ถึงสถานะในกระบวนการการผลิต รวมไปถึงการซัปพอร์ตและออกคำสั่งให้กับบุคลากรหน้างาน ข้อดีที่สุดของระบบนี้คือการออกคำสั่งหรือสนับสนุนผู้ทำงาน ความสามารถในการรับรู้ถึงสถานะการทำงานจริง และควบคุมจัดการความคืบหน้าในกระบวนการผลิต โดยเชื่อมต่อกับแต่ละสายกระบวนการผลิต และเนื่องจากระบบนี้สามารถรับรู้ได้ถึงสถานะของการผลิต WIP (Work-In-Process) ได้ตามเวลาที่ปฏิบัติงานจริง เราจึงสามารถคาดหวังถึงได้ถึงการพัฒนาศักยภาพการผลิต เพิ่มศักยภาพในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน และออกแบบตารางงานโดยยึดจากแผนการผลิตได้
หลายท่านอาจสับสนระหว่างระบบ ERP (Enterprise Resource Planning หรือ ระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร) กับระบบ MES ดังนั้น เราจึงขอนำเสนอภาพความสัมพันธ์ของทั้งสองระบบเอาไว้ตามแผนภาพด้านล่าง ซึ่งท่านจะเห็นว่าระบบ ERP เป็นระบบที่อยู่เหนือระบบ MES ระบบ ERP จะมีหน้าที่ควบคุมดูแลด้านการจัดการการขาย การผลิต บัญชีและอื่นๆ ส่วนระบบ MES จะมีหน้าทีควบคุมดูแลในระดับชั้นการปฏิบัติการ นอกจากนี้ ด้านล่างของระบบ MES ยังมีชั้นการควบคุมซึ่งประกอบไปด้วยระบบควบคุมอุปกรณ์เครื่องจักรที่มีหน้าที่รวบรวมข้อมูลที่ระบบ MES ต้องใช้ในการประมวลผลอยู่ด้วย
Globalization, Digitalizationและความต้องการที่หลากหลาย (Diversifying Needs) ส่งผลให้ Product Lifecycle หดสั้นลงและความต้องการที่จะผลิตสินค้าได้หลากหลายมีมากขึ้น ทำให้หน้างานการผลิตต้องผลิตสินค้าที่หลากหลายชนิดแต่ในปริมาณน้อย ดังนั้น เพื่อตอบสนองเทรนด์ดังกล่าว ผู้ผลิตหลายรายจึงมีความสนใจที่จะนำระบบ MES ไปใช้งานจึงเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก
ไม่สามารถทำการสอบกลับสินค้าได้ (Traceability) ทำให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้
ไม่สามารถรับรู้ถึงปัญหาที่หน้างานได้แบบทันที จึงส่งผลต่อเนื่องไปสู่ปัญหาที่ใหญ่ขึ้น
อยากจะรู้สถานการณ์การเกิด NG ในการผลิตและอยากพิจารณาหาวิธีการปรับปรุง
การจดผลรายงานการผลิตแบบเขียนมือ ทำให้ความแม่นยำของข้อมูลต่ำ
ไม่สามารถรู้ได้ว่าหน้างานกำลังผลิตอะไรจำนวนกี่ชิ้น จึงไม่รู้ความคืบหน้าของงานเมื่อเทียบกับแผนการผลิต
การนำระบบ MES ไปใช้ จะทำให้สามารถรับรู้ผลการผลิตเทียบกับการวางแผนได้แบบทันท่วงที ด้วยเหตุนี้ ทำให้สามารถรับรู้ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เมื่อการผลิตเกิดการล่าช้า และสามารถนำมาตรการที่เหมาะสมมาใช้แก้ปัญหาความล้าช้าเพื่อให้การผลิตดำเนินไปตามแผนได้
การนำระบบ MES ไปใช้จะทำให้สามารถย้อนตรวจสอบสถานการณ์การผลิตที่ผ่านมาได้ตลอดเวลา และด้วยการเตรียมสภาพแวดล้อมที่ทำให้สามารถตรวจสอบกระบวนการผลิตได้เอาไว้ ทำให้สามารถรวบรวมข้อมูล "เมื่อใด" "ที่ไหน" "โดยใคร" ของแต่ละขั้นตอนการผลิตเอาไว้ได้ ทำให้เมื่อเกิดปัญหาหลังการส่งของออกไป ผู้ใช้งานก็จะสามารถระบุจุดที่ทำให้เกิดปัญหาได้โดยดูจากประวัติผลของการผลิต ซึ่งอาจนำไปสู่การวางมาตรการจัดการอย่างเป็นรูปธรรม ที่จะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำขึ้นอีกในภายหลัง
ด้วยการนำระบบ MES ไปใช้ ทำให้สามารถใช้เครื่อง Handy Terminal บันทึกผลการรับวัตถุดิบเข้าคลัง รายงานผลการจ่ายวัตถุดิบเข้าสายการผลิต รวมถึงผลการผลิตของแต่ละกระบวนการได้ ส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพิ่มความแม่นยำของข้อมูลด้วยการลดการใช้กระดาษได้อีกด้วย นอกจากนี้ เนื่องจากข้อมูลผลการผลิตถูกเก็บไว้ในระบบ จึงสามารถที่จะค้นหาประวัติของผลการผลิตในอดีตได้ง่ายอย่างดาย
MES (Manufacturing Execution Area:ส่วนงานด้านการดำเนินการการผลิต) คือส่วนงานที่ยากที่จะหา Software Package ที่จะสามารถซัพพอร์ตต่อลักษณะพิเศษของผลิตภัณฑ์และไลน์การผลิตของแต่ละเจ้าได้อย่างครบถ้วน เป็นส่วนงานที่มีแนวโน้มที่จะต้องใช้เงินลงทุนปริมาณมากและใช้ระยะเวลานานในการนำระบบไปใช้
เราสามารถสร้างระบบ MES แบบค่อยเป็นค่อยไป โดยอาจจะเริ่มจากส่วนงานด้านการรับวัตถุดิบเข้าคลังสินค้า, การผลิต, หรือการส่งสินค้าก่อนก็ได้
เราสามารถติดตั้งระบบในราคาต่ำด้วยระยะเวลาอันสั้นให้กับลูกค้าได้โดยการนำ รูปแบบ (Template) มาใช้ และเนื่องจาก Template ดังกล่าวได้รับการพัฒนาขึ้นโดยบริษัทเราเอง เราจึงสามารถปรับแต่งให้ระบบตอบรับกับคุณลักษณะพิเศษของผลิตภัณฑ์และสายการผลิต รวมถึงสามารถยืดหยุ่นตามความต้องการของแต่ละบริษัทของลูกค้าได้
สำหรับลูกค้าที่ "อยากจะเริ่มใช้จากระบบ ERP + Barcode ก่อน" ทางเราก็สามารถให้บริการลงระบบ MES คู่กับ Microsoft Dynamics ERP ได้
✔ Dynamics 365 For Finance and Operations (ชื่อเดิม Dynamics AX)
✔ Dynamics 365 Busness Central (ชื่อเดิม Dynamics NAV)
・สอบถามความต้องการและปัญหาในปัจจุบัน
・พิจารณาสโคปของระบบและตารางเวลา
・วางแผนการโปรเจ็กต์และนำเสนอ
・ตรวจสอบสภาพการทำงานปัจจุบัน
・ตรวจสอบระบบปัจจุบัน
・สร้าง Business flow
・สร้าง Function list
・Test, Migration, Operation plan
・ออกแบบ
・ออกแบบการปรับแต่ง
・สนับสนุน การสร้างต้นแบบ
・พัฒนา,ทดสอบระบบ
・การตั้งค่าระบบ
・การทดลองย้ายข้อมูล
・ทดสอบระบบ
・สร้างคู่มือ
・สอนการใช้งานให้กับผู้ใช้งานหลัก
・สนับสนุนการทดสอบการใช้งานระบบโดยผู้ใช้งานจริง
・บริการช่วยเหลือ ณ สถานที่ใช้งานจริงของลูกค้า
・บริการช่วยเหลือตอบคำถามทางโทรศัพท์/อีเมล
・การบริหารจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น
เราสนับสนุนและให้บริการอย่างต่อเนื่องตามวงจรการพัฒนาระบบ (System life cycle) ตั้งแต่การเริ่มพิจารณาเพื่อจะติดตั้งระบบไปจนถึงการให้บริการหลังการเริ่มใช้ระบบแล้ว
เราดำเนินการกำหนดความต้องการ โดยการรวบรวมความเห็นจากทั้งคนไทยที่ทำงานอยู่ในสถานที่ปฏิบัติงานจริง และความเห็นของระดับผู้บริหาร
เราดำเนินโครงการ โดยใช้การสื่อสารด้วยหลายภาษา ทั้งภาษาญี่ปุ่น ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
เรานำเสนอบริการดูแลหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเป็นการบริการที่สามารถปรับเปลี่ยนตามระดับความเสถียรของการใช้งานระบบ เช่น การบริการแบบเต็มรูปแบบในระยะที่เพิ่งเริ่มใช้งานระบบ
เรามีทีมผู้ให้คำปรึกษาที่มากประสบการณ์อยู่ประจำในบริษัท ซึ่งจะสามารถนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมได้
เราดำเนินโครงการ ด้วยความรับผิดชอบโดยขอรับคำอนุมัติจากลูกค้าโดยแยกเป็นช่วงระยะการพัฒนาระบบ ไป เพื่อลดความเสี่ยงต่อความผิดพลาดในการพัฒนาและติดตั้งระบบให้มากที่สุด
System Engineering &Planning 1
Manager
Paskorn Manee
System Engineering &Planning 1
Manager
Paskorn Manee
ทางเราให้บริการตั้งแต่การออกแบบระบบในภาพรวมไปจนถึงการติดตั้งระบบ รวมถึงการปรับปรุงระบบหลังเริ่มใช้งานระบบ และการรวบรวม การวิเคราะห์ และใช้ข้อมูลเพื่อติดตามความคืบหน้าของระบบเพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ และเป็นแนวทางในการตัดสินใจ เราจะตรวจสอบถึงรายละเอียดการทำงานของลูกค้าและดำเนินการติดตั้งระบบที่เหมาะสมให้กับลูกค้า
หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการทำงานของ MES หรือต้องการติดต่อขอใบเสนอราคาและขอรับข้อเสนอ สามารถติดต่อเราได้เลยครับ